เมนู

จงเป็นผู้มีประโยชน์ถึงพร้อม พึงคบหาท่านผู้มี
ปัญญาสมบูรณ์ บุญสัมปทา ย่อมสำเร็จได้
อย่างนี้ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ได้
จิตสัมปทาแล้ว กระทำกรรมให้สมบูรณ์ ย่อมได้
ผลบริบูรณ์ รู้โลกนี้ตามเป็นจริงแล้ว พึงถึงทิฏฐิ
สัมปทา อาศัยมรรคสัมปทา มีใจบริบูรณ์ ย่อม
บรรลุอรหัต เพราะกำจัดมลทินทั้งปวงได้แล้ว
บรรลุนิพพานสัมปทาได้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจาก
ทุกข์ทั้งปวง การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น
จัดเป็นสรรพสัมปทา.

จบ เขตตสูตรที่ 4

อรรถกถาเขตตสูตรที่ 4


เขตตสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า น มหปฺผลํ โหติ ความว่า ไม่มีผลมากด้วยผลแห่ง
ธัญพืช. บทว่า น มหาสฺสาทํ ความว่า ความยินดีต่อผลธัญพืชนั้น
มีไม่มาก คือมีความยินดีน้อยไม่อร่อย. บทว่า น ผาติเสยฺยํ ความว่า
ธัญพืชนั้นย่อมไม่เจริญงอกงาม อธิบายว่า ธัญพืชนั้นจะเจริญคือ
มีลำต้นคอยค้ำรองเข้าที่ใหญ่ก็หามิได้. บทว่า อนฺนามินินฺนามิ
ได้แก่ พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะดอนและลุ่ม. ในที่เหล่านั้น ที่ดอน
ไม่มีน้ำขังอยู่ที่ลุ่มมีน้ำขังมากเกินไป. บทว่า ปาสาณสกฺขริลฺลํ
ความว่า ประกอบด้วยหลังแผ่นหินลาดตั้งอยู่ และกรวดก้อนเล็ก

ก้อนใหญ่. บทว่า อูสรํ ได้แก่ น้ำเค็ม. บทว่า น จ คมฺภีรสิตํ
ความว่า ไม่สามารถจะไถให้คลองไถลงไปลึกได้เพราะพื้นที่แข็ง
คือเป็นคลองไถตื้น ๆ เท่านั้น. บทว่า น อายสมฺปนฺนํ ได้แก่
ไม่สมบูรณ์ด้วยทางน้ำไหลออกในด้านหลัง. บทว่า น มาติกา-
สมฺปนฺนํ
ความว่า ไม่สมบูรณ์ด้วยเหมืองน้ำขาดเล็กและขนาดใหญ่.
บทว่า น มริยาทสมฺปนฺนํ ความว่า ไม่สมบูรณ์ด้วยคันนา. บท
ทั้งหมดมีอาทิว่า น มหปฺผลํ พึงทราบด้วยสามารถเผล็ดผลนั่นเอง.
บทว่า สมฺปนฺเน ได้แก่ บริบูรณ์ คือประกอบด้วยคุณสมบัติ
บทว่า ปวุตฺตา พีชสมฺปทา ได้แก่ พืชที่ปลูกสมบูรณ์. บทว่า
เทเว สมฺปาทยนฺตมฺหิ ความว่า เมื่อฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล
บทว่า อนีติสมฺปทา โหติ ความว่า ความไม่มีภัยจากสัตว์เล็ก ๆ
มีตั๊กแตนและหนอนเป็นต้น เป็นความสมบูรณ์เป็นเอก. บทว่า
วิรุฬฺหิ ความว่า ความงอกงามเป็นความสมบูรณ์อันดับ 2 บทว่า
เวปุลฺลํ ความว่า ความไพบูลย์เป็นความสมบูรณ์อันดับ 3 บทว่า
ผลํ ความว่า ผลแห่งธัญพืชที่บริบูรณ์ เป็นความสมบูรณ์อันดับ 4.
บทว่า สมฺปนฺนสีเลสุ ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้มีศีลบริบูรณ์
บทว่า โภชนสมฺปทา ได้แก่ โภชนะ 5 อย่างที่สมบูรณ์. บทว่า
สมฺปทานํ ได้แก่ กุศลสัมปทา 3 อย่าง. บทว่า อุปเนติ ได้แก่
โภชนสัมปทานั้นนำเข้าไป. เพราะเหตุไร ? เพราะกิจกรรมที่ผู้นั้น
ทำแล้วสมบูรณ์ อธิบายว่า เพราะกิจกรรมที่เขาทำแล้วนั้นสมบูรณ์
คือบริบูรณ์. บทว่า สมฺปนฺนตฺถูธ ตัดบทเป็น สมฺปนฺโน อตฺถุ อิธ,
แปลว่า จงเป็นผู้สมบูรณ์ในกุศลสัมปทานี้. บทว่า วิชฺชาจรณ-


สมฺปนฺโน ความว่า ประกอบด้วยวิชชา 3 และจรณะธรรม 15.
บทว่า ลทฺธา ความว่า บุคคลเห็นปานนี้ ได้ความสมบูรณ์ คือความ
ไม่บกพร่อง ได้แก่ความบริบูรณ์แห่งจิต. บทว่า กโรติ กมฺมสมฺปทํ
ได้แก่ ทำกรรมให้บริบูรณ์. บทว่า ลภติ จตฺถสมฺปทํ ได้แก่
ได้ประโยชน์บริบูรณ์. บทว่า ทิฏฺฐิสมปทํ ได้แก่ ทิฏฐิในวิปัสสนา.
บทว่า มคฺคสมฺปทํ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค. บทว่า ยาติ สมฺปนฺน-
มานโส
ความว่า เป็นผู้มีจิตบริบูรณ์ถึงพระอรหัต. บทว่า สา โหติ
สพฺพสมฺปทา
ความว่า ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น ชื่อว่า
เป็นความถึงพร้อมทุกอย่าง.
จบ อรรถกถาเขตตสูตรที่ 4

5. ทานูปปัตติสูตร


[125] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน 8 ประการ
นี้ 8 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด
ย่อมหวั่งสิ่งนั้น เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ
คฤหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ 5
เขามีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ-
คฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึก
น้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เข้าย่อมเข้าถึงความ
เป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-
มหาศาล แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของมีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อม
สำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน
คือ ข้าว น้ำ... เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้ส่งใด
ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นจาตุมมหาราชมีอายุยืน
มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น
จาตุมมหาราช เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึก